วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปองค์ความรู้

ชื่อ     นายธีรชัย      นามสกุล   มีวงศ์    เลขที่  9  ห้อง ม. 5/10
กลุ่มที่ 4
ปัญหาที่นักเรียนศึกษา        ศึกษาปัญหาพ่อแม่ไม่เข้าใจวัยรุ่น
ที่มาและความสำคัญของปัญหา     ปัจจุบันผู้ปกครองสมัยใหม่มักคิดว่าสิ่งที่เราทำนั้นถูกต้องเสมอ แล้วสิ่งที่เราได้เลือกให้กับลูกหลานของเรานั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของตัวเด็กเลย  เพราะเหตุนี้จึงทำให้เด็กบางส่วนเป็นเด็กที่มีปัญหา มักชอบทำอะไรโดยไม่ปรึกษาผู้ใหญ่  ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่ ฯลฯ  ดังนั้นปัญหานี้จึงควรได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด  หากปล่อยไว้แบบนี้นานๆจะทำให้เด็กเสียคนได้
                วัตถุประสงค์
1.พื่อต้องการศึกษาปัญหา  พ่อแม่ไม่เข้าใจวัยรุ่น
2.เพื่อนเรียนรู้วิธีการสร้างนภาพยนต์หนังสั้น
ผลการศึกษา
จากการที่ได้ศึกษาปัญหาพ่อแม่ไม่เข้าใจวัยรุ่นเราได้ทราบว่าปัญหานี้ไม่ได้มีแค่กับเฉพาะคนบางกลุ่ม แต่ปัญหานี้เกิดขึ้นกับครัวครัวคนไทยมนปริมาณมาก  แม้กระทั้งครอบครัวที่ดูจะมีความสุขที่สุดในบางเวลาลูกของเขายังคิดว่าพ่อแม่ม่เข้าใจเขา 
                แนวคิดในการแก้ไขปัญหา
พวกเราคนไทยจะต้องเห็นใจทั้งสองฝ่ายเรื่องไหนปล่อยให้เด็กทำได้ควรจะปล่อยให้เด็กทำ แต่สำหรับบางเรื่องก็ควรห้าม เราจะต้องปลูกจิตสำนึกเรื่องการเลี้ยงดูบุตรให้ดีกว่านี้  เพราะเด็กคือ อนาคตของชาติ หากเด็กเป็นคนไม่ดีแล้วประเทศชาติของเราในอนาคตจะเป็นเช่นไร
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนวิชา IS1
-การทำงานกลุ่ม
-การศึกษาค้นขว้าข้อมูลในอินเตอร์เน็ต
-การใช้สื่อเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

-ได้เรียนรู้วิธีการทำภาพยนต์หนังสั้นที่ถูกวิธีจากผู้ที่มีประสบการณ์ตรง

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทภาพยนต์

บทภาพยนตร์ คือ แบบร่างของการสร้างภาพยนตร์ บทภาพยนตร์จะมีความคล้ายคลึงกับวรรณกรรมตรงที่การบอกเล่าเรื่องราวว่า ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แต่จะแตกต่างที่บทภาพยนตร์นั้นต้องสื่อความหมายออกมาเป็นภาพ โดยใช้ภาพเป็นตัวสื่อความหมาย เป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดเรื่องราว เมื่อได้โครงสร้างเรื่องที่ชัดเจนแล้วจึงนำเหตุการณ์มาแตกขยายเป็นฉากๆ ลงรายละเอียดย่อยๆ ใส่สถานการณ์ ช่วงเวลา สถานที่ ตัวละคร บทสนทนา บางครั้งอาจกำหนดมุมกล้องหรือ ขนาดภาพ ให้ชัดเจนเลยก็ได้ บทภาพยนตร์จึงเขียนเพื่อเป็นการเตรียมงานผลิต (pre-production) และฝึกซ้อมนักแสดงโดยเฉพาะ

องค์ประกอบของการเขียนบทภาพยนตร์

  1. เรื่อง (story) หมายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยมีจุดเริ่มต้นและดำเนินไปสู่จุดสิ้นสุด เรื่องอาจจะสั้นเพียงไม่กี่นาที อาจยาวนานเป็นปี หรือไม่รู้จบ (infinity) ก็ได้ สิ่งสำคัญในการดำเนินเรื่อง คือปมความขัดแย้ง (conflict) ซึ่งก่อให้เกิดการกระทำ ส่งผลให้เกิดเป็นเรื่องราว
  2. แนวความคิด (concept) เรื่องที่จะนำเสนอมีแนวความคิด (Idea) อะไรที่จะสื่อให้ผู้ชมรับรู้
  3. แก่นเรื่อง (theme) คือประเด็นเนื้อหาสำคัญหรือแกนหลัก (Main theme) ของเรื่องที่จะนำเสนอ ซึ่งอาจประกอบด้วยประเด็นรองๆ (sub theme) อีกก็ได้ แต่ต้องไม่ออกนอกแนวความคิดหลัก
  4. เรื่องย่อ (plot) เป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่คิดขึ้นมาใหม่ เรื่องที่นำมาจากเหตุการณ์จริง เรื่องที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรม หรือแม้แต่เรื่องที่ลอกเลียนแบบมาจากภาพยนตร์อื่น สิ่งแรกนั้นเรื่องต้องมีความน่าสนใจ มีใจความสำคัญชัดเจน ต้องมีการมีการตั้งคำถามว่า จะมีอะไรเกิดขึ้น (What...if...?) กับเรื่องที่คิดมา และสามารถพัฒนาขยายเป็นโครงเรื่องใหญ่ได้
  5. โครงเรื่อง (treatment) เป็นการเล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์อย่างมีเหตุผล เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์จะต้องส่งเสริมประเด็นหลักของเรื่องได้ชัดเจน ไม่ให้หลงประเด็น โครงเรื่องจะประกอบด้วยเหตุการณ์หลัก (main plot) และเหตุการณ์รอง (sub plot) ซึ่งเหตุการณ์รองที่ใส่เข้าไป ต้องผสมกลมกลืนเป็นเหตุเป็นผลกับเหตุการณ์หลัก
  6. ตัวละคร (character) มีหน้าที่ดำเนินเหตุการณ์จากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดสิ้นสุดของเรื่อง ตัวละครอาจเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเป็นนามธรรมไม่มีตัวตนก็ได้ การสร้างตัวละครขึ้นมาต้องคำนึงถึงภูมิหลังพื้นฐาน ที่มาที่ไป บุคลิกนิสัย ความต้องการ อันก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆของตัวละครนั้นๆ ตัวละครแบ่งออกเป็นตัวแสดงหลักหรือตัวแสดงนำ และตัวแสดงสมทบหรือตัวแสดงประกอบ ทุกตัวละครจะต้องมีส่งผลต่อเหตุการณ์นั้นๆ มากน้อยตามแต่บทบาทของตน ตัวเอกย่อมมีความสำคัญมากกว่าตัวรองเสมอ
  7. บทสนทนา (dialogue) เป็นถ้อยคำที่กำหนดให้แต่ละตัวละครได้ใช้แสดงโต้ตอบกัน ใช้บอกถึงอารมณ์ ดำเนินเรื่อง และสื่อสารกับผู้ชม ภาพยนตร์ที่ดีจะสื่อความหมายด้วยภาพมากกว่าคำพูด การประหยัดถ้อยคำจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ความหมายหรืออารมณ์บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ถ้อยคำมาช่วยเสริมให้ดูดียิ่งขึ้นก็ได้

โครงสร้างการเขียนบท

  1. จุดเริ่มต้น (beginning) ช่วงของการเปิดเรื่อง แนะนำเรื่องราว ปูเนื้อเรื่อง
  2. การพัฒนาเรื่อง (developing) การดำเนินเรื่อง ผ่านเหตุการณ์เดียวหรือหลายเหตุการณ์ เนื้อเรื่องจะมีความซับซ้อนมากขึ้น
  3. จุดสิ้นสุด (ending) จุดจบของเรื่อง แบ่งออกเป็นแบบสมหวัง (happy ending) ทำให้รู้สึกอิ่มเอมใจ และแบบผิดหวัง (tragedy/ sad ending) ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ

ตัวอย่างเบื้องหลังการถ่ายทำหนังสั้น


เทคนิคมุมกล้อง


มุมกล้องภาพยนต์


ขั้นตอนการทำหนังสั้น


เทคนิควิธีการสร้างหนังสั้นแต่ง่าย ๆ


        ขั้นแรก หาองค์ประกอบด้านวิธีการ คือ หลักการ การวางแผน การถ่ายทำ การตัดต่อ การประเมินผล
        
        ขึ้นสอง หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ บุคลากรในหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ ตัวละคร บุคคลทางเทคนิค รวมไปถึง ผู้มีความสารถเฉพาะครับ จะดีมากๆ และอีกอย่างคือทีมเวิคครับ
       
        ขั้นสาม เตรียมการผลิต คือ วางแผน เตรียมสถานที่ บท อุปกรณ์ ให้ครบ
        
        ขั้นสี่  บทหนัง คือ วางบท คำพูด ระยะเวลาสถานที่ เรื่องราว ที่จะสื่อออกมา
                เรื่องบทจะมี หลายแบบ
                           - บทแบบสมบูรณ์  ประมาณว่า เก็บทุกรายละเอียดทุกคำพูดอ่ะครับ
                           - บทแบบอย่างย่อ ประมาณว่า เปิดกว้างๆให้ผู้ชมสังเกตในความเข้าใจของตนเอง
                           - บทแบบเฉพาะ   (ไม่จำเป็นหรอก)
                           - บทแบบร่างกำหนด (ไม่จำเป็นอีกแหละ)
        ขั้นห้า การผลิต อย่างแรกเลย แต่ละฉากคุณต้องเลือกมุมกล้องให้เหมาะสม กับสภาพอากาศ ขนาดวัตถุ ว่าควรเห็นแค่ไหน  ขนาดมุมกล้องมีหลายแบบนะเยอะมาก ผมพูดรวมๆละกัน มีแบบ ระยะไกลมาก ระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้  (รายละเอียดท่าสนใจเข้ามาคุยนะครับ)
 
        ขั้นหก ค้นหามุมกล้อง
                  - มุมคนดู ประมาณว่า เป็นมุมถ่ายจากรอบนอกของฉากนั้นๆอ่ะครับ เหมือนผู้ชมเป็นคนสังเกตฉากนั้นๆ
                  - มุมแทนสายตา ไม่ต้องอธิบายมั้ง
                  - มุมพ้อยออฟวิว มุมนี้แนะนำให้ใช้เยอะๆครับ สวยมากมุมนี้ในการทำหนัง เป็นมุมที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ครับ เช่น การถ่ายข้ามไหล่ของตัวละคร หรือวัตถุ ครับ
        ขั้นเจ็ด การเคลื่อนไหวของกล้อง (พูดรวมๆนะถ้าจะเอาละเอียดเข้ามาคุยกัน)
                  - การแพน การทิลท์ ประมาณว่า การทำเคลื่อนไหวกล้องให้เห็นตำแหน่งวัตถนั้นสัมพันกันครับ
                  - การดอลลี่ การติดตามการเคลื่อนไหวเลยครับ
                  - การซูม เป็นการเปลียนองค์ประกอบภาพครับ เหมือนเน้ความสนใจในจุดๆหนึ่ง

        ขั้นแปด เทคนิคการถ่าย (เออผมจะอธิบายไงดีเนี้ยมันเยอะมากอ่ะครับ)
                     เอาเป็นว่าจับกล้องให้มั่นอ่ะครับ อย่างผมก็จะจับ แบบกระชับกับตัวเลย คือแขนทั้งสองข้างแนบตัวเลยครับ และก็ไม่แนะนำให้เคลื่อนไหวกล้องแบบรวดเร็วนะครับ กล้องจะปรับโฟกัสไม่ทัน ทำให้ภาพเบลอครับ
ถ้าอยากทราบเทคนิคการถ่ายแบบละเอียดก็ เข้ามาถามละกันนะครับ ผมต้องใช้ประสปการณ์ตรงอธิบายอ่ะ
        ขั้นเก้า หลังการผลิต ก็ต้องตัดต่อ เพิ่มเสียง เอฟเฟค ความคมชัด ความเด่นชัดเรื่อง อักษรหนังสือ
        ขั้นสิบ การตัดต่อ (เยอะมากครับอธิบายรวมๆละกัน)
               อย่างแรกเลยครับจัดลำดับภาพ และเวลาให้ตรงและเหมาะสม อันไหนเกินยาวก็ให้ตัดทิ้งครับอย่าให้ขัดอารณ์
               อย่างสองคือจัดภาพให้เหมาะสม เนื้อหาและโครงเรื่องที่เราวางไว้ครับ
               อย่างสามแก้ไขข้อบกพร่องครับ
               อย่างสี่ เพิ่มทคนิคให้ดูสวยงาม(เดียวจะอธิบาย)
               อย่างห้า เรื่องเสียง(เดียวจะอธิบาย)
        เอาละครับขั้นการตัดต่อและมาดูละกันการตัดต่อเชื่อมฉากมีอะไรบ้าง
              - การตัด cut
              - การเฟด fade
              - การทำภาพจางซ้อน
              - การกวาดภาพ
              - ซ้อนภาพ
              - ภาพมองทาจ
        โปรแกรมที่จะนำมาใช้ ผมแนะนำดังต่อไปนี้นะครับ
        1. movie maker (Xp ก็มีมาให้แล้ว) ตัดต่อเบื้องต้นครับ ตัวเชื่อมเฟรมค่อนข้างน้อย ไม่แนะนำนะครับ
        2. Sony vegas 7.0 ค่อยดีขึ้นมาหน่อย การทำงานค่อนข้างละเอียดครับ มีลุกเล่นเยอะมากมาย(แนะนำสำหรับมือใหม่ครับ)
        3. adobe premiere pro 2.0 มีการตัดต่อค่อนข้างละเอียดอ่อนมากๆครับใช้งานยากแต่ ถ้าใช้เป็นสามารถสร้างหนังได้ใหญ่ๆเรื่องนึงเลยนะครับ แต่การใช้งานยุ่งยากไม่เหมาะกับมือใหม่ (ถ้าอยากใช้ก็หาเอาแล้วกันนะครับ)